• 25 เมษายน 2024

ต้นกำเนิดของ เซน (Zen)

เซน (Zen) คืออีกนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายาน ถ้าเราจะพูดให้เข้าใจกันง่ายๆก็คือ พุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 2 นิกายหลัก ดังต่อไปนี้

  1. นิกายเถรวาท คือ นิกายที่พุทธศาสนิกชนขาวไทยส่วนใหญ่ นับถือกันนั้นเอง โดยหลักของพุทธศาสนานิกายเถรวาท จะเน้นแก่นธรรมคำสั่งสอน ที่อ้างอิงตามพระไตรปิฎกเป็นหลัก และยังเป็นนิกายที่เก่าแก่ที่สุด ของพระพุทธศาสนา
  2. นิกายมหายาน คือนิกายที่เน้นการปฏิบัติและมีการยืดหยุ่น ปรับตัวเข้ากับยุคสมัย ซึ่งเซนเอง ก็ถูกแบ่งออกมาจากนิกายมหายานนนั้นเอง

ต้นกำเนิดเซน

เซน (Zen) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย หลังจากนั้นได้ถูกเผยแพร่ต่อมายังประเทศจีน และมีการพัฒนาและเผยแพร่ส่งต่อมายังประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น โดยเซนเอง มีหลักในการปฎิบัติใช้สัมมาทิฎฐิ ความเข้าใจ การสื่อสารที่ง่าย ซึ่งคนทั่วไป สามารถนำไปใช้และปฎิบัติได้จริง ในยุคปัจจุบัน

การฝึกตนของเซน

เซนกับชีวิตประจำวัน

เซน ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแพร่มาสู่ญี่ปุ่น จะเน้นการฝึกตนโดยการนั่งสมาธิ เพื่อความรู้แจ้ง เซน ยังเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต แสดงออกให้เห็นแนวทางในการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ เปรียบเสมือนการถ่ายทอดพิเศษ นอกเหนือคัมภีร์ที่ไม่ใช้คำพูดหรือตัวอักษร แต่เน้นการปฏิบัติ ที่พุ่งตรงเข้าสู้จิตใจและบรรลุพุทธภาวะ

สังฆปรินายกองค์ที่ 1

เซน ยึดหลักปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธเจ้าในการฝึกสมาธิด้วยอริยสัจ 4 และมรรค 8 มีตำนานเคยกล่าวไว้ว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงหยิบ ดอกบัวขึ้นมา 1 ดอก ท่ามกลางพระสงฆ์ที่รายล้อมอยู่ พระสงฆ์เหล่านั้น ต่างสงสัยในความหมาย มีแค่เพียงพระมหากัสสปะเท่านั้น ที่ยิ้มออกมา แล้วพระพุทธเจ้า ก็ทรงตรัสว่า ธรรมมะจากเรานั้น ได้ถ่ายทอดสู่กัสสปะเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้น ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนานิกายเซน ท่านมหากัสสปะ จึงเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 1

ถ่ายทอดเซนจากใจสู่ใจ

การฝึกจิตแบบเซน

เซน เป็นที่ยอมรับจากบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชน เปรียบเสมือนคำสอน ที่เข้าถึงประเด็นสำคัญ โดยตัดพิธีกรรมออกไป สอนให้เรามีสติอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็คือ มีสติใน ณ ปัจจุบัน ถ้าเราเป็นมนุษย์คนนึ่ง ที่แสวงหาการพ้นทุกข์ นี้คือคำตอบ การแสวงหาความสุขทางจิตใจนั้นสามารถทำได้ เพราะโลกใบนี้ เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน และโลกของเรานั้น เป็นหนึ่งเดียวกันตั้งแต่เริ่มต้นอยู่แล้ว เพียงแต่มนุษย์ที่เป็นคนทำให้เกิดการแบ่งแยกและหลงในสิ่งสมมุติ จึงเป็นต้นเหตุของการแตกแยก แต่เซนนั้นสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมไดโดยไม่มีการแบ่งแยก

สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าพุทธศาสนานิกายไหนๆ ก็สอนให้คนนั้นเป็นคนดี และสอนวิธีพ้นทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น ฉะนั้นแล้ว จงเป็นคนที่ดี หมั่นเจริญสติในมากๆ เพื่อที่สุขแท้จริงจะเกิดขึ้นกับจิตใจของเรา จงเลือกวิธีปฏิบัติที่ตนเองนั้นถนัดและสนใจ เพื่อที่จะมีแรงศรัทธาเพียงพยายามปฏิบัติ จนบรรลุถึงสุขที่แน่นอนและถาวร คือ นิพพาน

ขอบคุณข้อมูลจาก
vuzzu.net

admin

Read Previous

โรคซึมเศร้า สามารถรักษาหายได้

Read Next

Porsche Cayman และ Boxster อาจเปิดตัวรถพลังงานไฟฟ้า ในปี 2025