• 26 เมษายน 2024

ท่องเที่ยว วัดอรุณราชวราราม ประวัติ วัดดังริมแม่น้ำเจ้าพระยา

วัดอรุณราชวราราม ประวัติ วันนี้เราจะพาเพื่อนๆมาหาสถานที่ไหว้พระ ทำบุญพร้อมกับชมสถาปัตยกรรมที่งดงาม ในจังหวัดกรุงเทพมหานครกันค่ะ ซึ่งเพื่อนๆหลายท่านก็คงจะเคยไปที่วัดแห่งนี้กันอยู่แล้ว เพราะเป็นวัดดังและโบราณ ที่นักท่องเที่ยวหลายๆท่านชอบไปกัน ซึ่งวัดแห่งนี้ก็คือ วัดอรุณราชวราราม ประวัติ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ วัดแจ้ง ซึ่งเป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์ของไทย ชาว หวยสด มาดูกันว่า วัดแห่งนี้จะมีประวัติ ความเป็นมาอย่างไร และมีจุดน่าสนใจอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ก็ตามมาดูกันไปเลย

มารู้จัก วัดอรุณราชวราราม ประวัติและความเป็นมาของวัดโบราณ ในกรุงเทพมหานคร

“วัดอรุณราชวราราม” หรือ “วัดอรุณ” หรือที่หลายๆคนเรียกกันว่า “วัดแจ้ง” เป็นวัดเก่าแก่โบราณ ตั้งอยู่ที่ ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา แต่เดิมมีชื่อว่า “วัดมะกอกนอก” และได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อ “วัดแจ้ง” เพราะเชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตาก) ทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีในปี พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงที่หน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงได้พระราชทานชื่อใหม่ว่า “วัดแจ้ง” ซึ่งวัดแจ้งในขณะนั้น ถือว่าเป็นวัดประจำวัง เพราะอยู่ภายในเขตของพระราชวังเดิม ซึ่งจะไม่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา และวัดแจ้งเคยเป็นที่ประดิษฐานของ พระแก้วมรกต และ พระบาง โดยได้อัญเชิญมาที่ประเทศไทย เมื่อครั้งที่ไปตีเมืองเวียงจันทน์ในปี พ.ศ. 2322 ซึ่งในครั้งนั้น ได้มีการจัดงานสมโภชถึง 3 วัน 3 คืน 

โดยวัดแห่งนี้ ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 เนื่องจากในขณะที่พระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งเป็นวังหน้าในรัชกาลที่ 1 พระองค์ได้ประทับอยู่ที่พระราชวังแห่งนี้ และได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้เป็นการใหญ่ ซึ่งมีการจัดงานสมโภชใหญ่ถึง 7 วัน 7 คืนเลยทีเดียว และพระองค์ยังได้เปลี่ยนชื่อจาก วัดแจ้ง มาเป็น “วัดอรุณราชธาราม” และได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดอรุณราชวราราม” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

วัดอรุณราชวราราม ประวัติและความเป็นมา

จุดเด่นที่น่าสนใจภายใน วัดอรุณราชวราราม

  • พระปรางค์ใหญ่

พระปรางค์ใหญ่ วัดอรุณ เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงาม และมีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก ซึ่งก่อสร้างโดยช่างฝีมือ ที่มีความเชี่ยวชาญ โดยบนพระปรางค์ จะประดับด้วยเครื่องกระเบื้องเคลือบ และเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน ซึ่งมีลวดลายงดงาม และเป็นของเก่าแก่ที่หายาก โดยพระปรางค์ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 และบริเวณโดยรอบของพระปรางค์ จะประกอบด้วย พระปรางค์เล็ก 4 องค์ รอบ 4 ทิศ ซึ่งภายในมี รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ กำแพงแก้วกั้น มีฐานทักษิณ 3 ชั้น มีรูปปั้นมาร และกระบี่แบกฐานสลับกัน นอกจากนี้ยังมีซุ้ม 4 ซุ้ม มีพระนารายณ์อวตาร และเหนือขึ้นไปยอดปรางค์ จะมีเทพพนมนรสิงห์เพื่อปราบยักษ์

  • ยักษ์วัดแจ้ง

ยักษ์วัดแจ้ง เรียกได้ว่า เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของวัดแห่งนี้เลย โดยที่ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ จะมียักษ์วัดแจ้งยืนเฝ้าอยู่ โดยมียักษ์ที่มีกายสีขาว ชื่อว่า “สหัสเดชะ” และยักษ์ที่มีกายสีเขียว ชื่อว่า “ทศกัณฐ์” สร้างด้วยศิลปะแบบจีน เป็นปูนปั้นประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี ที่มือถือตะบองใหญ่เป็นอาวุธ ซึ่งมีความเชื่อว่าจะทำหน้าที่เป็นเทพพิทักษ์ ที่ปกปักรักษาสถานที่สำคัญทางศาสนา

ยักษ์วัดแจ้ง
  • พระอุโบสถ

พระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานของพระประธานชื่อว่า “พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก” ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ โดยประดิษฐานเหนือแท่นไพทีบนฐานชุกชี และเล่ากันว่า รัชกาลที่ 2 ทรงปั้นวงพระพักตร์พระพุทธรูปด้วยพระองค์เอง

  • พระวิหารหลวง

พระวิหารหลวง เป็นที่ประดิษฐานของ “พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร” ซึ่งเป็นพระประธานประจำพระวิหารหลวง และสักการะพระอรุณ (พระแจ้ง) พระพุทธศิลป์แห่งลานช้าง

พระปรางค์ใหญ่
  • พระอุโบสถน้อย 

พระอุโบสถน้อย เป็นพระอุโบสถหลังเก่าของวัด ภายในประดิษฐาน “พระบรมรูปหล่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน”  และด้านซ้ายของบรมรูป จะเป็นที่ตั้งของศาลสถิตดวงพระวิญญาณของพระองค์ ทางด้านตรงข้ามของพระบรมรูปจะเป็น “พระแท่นบรรทม” ที่เชื่อกันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงมาประทับในปลายรัชกาล ส่วนทางด้านหลังของพระบรมรูปประดิษฐาน “หลวงพ่อรุ่งมงคล”

  • วิหารน้อย

วิหารน้อย เป็นวิหารหลังเก่า ที่สันนิษฐานว่า ถูกสร้างมาพร้อมกับโบสถ์น้อย ในสมัยอยุธยา ในปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐาน “พระจุฬามณีเจดีย์” ซึ่งเป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ หล่อด้วยโลหะ และมีรูปปั้นท้าวจตุโลกบาลยืนเฝ้าพระเจดีย์อยู่ทั้ง 4 มุม ซึ่งในอดีตวิหารน้อยแห่งนี้ เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต 

พระอุโบสถ

วันนี้เราก็ได้พาเพื่อนๆทุกท่าน มาทำความรู้จักกับ วัดอรุณราชวราราม กันไปแล้วนะคะ ถ้าเพื่อนๆท่านไหนสนใจที่จะไปเที่ยวและไหว้พระ ก็สามารถเดินทางไปเที่ยวได้ทุกวัน โดยสามารถเข้าได้ตั้งแต่ เวลา 08.30 – 18.00 น. ค่ะ สำหรับวันนี้ก็ต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีค่ะ

admin

Read Previous

ดูดวงการเงินรายวัน ประจำเดือน มีนาคม 2566

Read Next

วัดฉลอง ประวัติ หลวงพ่อแช่ม วัดดังภูเก็ตตั้งแต่โบราณ